วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การปลูกต้นไม้เพิ่มออกซิเจน


การปลูกต้นไม้เพิ่มออกซิเจน

 
 ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ได้รบความสนใจจากผู้คนมากที่สุดคือ  ปัญหาโลกร้อน หรือสภาวะเรือนกระจก  ซึ่งวิธีการแก้ปัญหา หรือลดความรุนแรงของปัญหานี้ได้ดีที่สุดก็คือ การเพิ่มพื้นที่สีเขียว หรือการปลูกต้นไม้เพิ่มนั่นเอง



                  ต้นไม้ช่วยลดโลกร้อนด้วยการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกเข้าไปเพื่อใช้ในการสังเคราะห์แสง โดยตลอดอายุขัยของไม้ยืนต้น 1 ต้น จะสามารถเก็บกักคาร์บอนได้เฉลี่ย 1-1.7 ตันคาร์บอน และยังสามารถดูดซับก๊าซอื่นๆ ที่เป็นพิษต่อร่างกายมนุษย์ และสิ่งแวดล้อมได้อีก เช่น ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ และก๊าซโอโซนเป็นต้นนอกจากนี้ต้นไม้ 1 ต้นยังสามารถดักจับอนุภาคมลพิษบางชนิดได้ เช่น ฝุ่น ควัน ไอพิษต่างๆ ได้ถึง 1.4 กิโลกรัม/ปี



ที่มาสำหรับข้อมูล : http://www.seub.or.th/

ขอบคุณสถานที่ ทิพวัลย์ รีสอร์ท ผู้ปกครองของสมาชิกในกลุ่ม

วันศุกร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

DropNet

DropNet 

ตาข่ายเก็บเกี่ยวสายหมอกเพื่อสร้างเป็นน้ำดื่มอันบริสุทธิ์




ในทุกๆ ปี ประชากรกว่า 2.5 ล้านคนนั้น ต้องจบชีวิตลงจากความกระหายหรือการดื่มน้ำที่ปนเปื้อนสารพิษ ผู้เชี่ยวชาญจากสหประชาชาติจึงได้คาดการณ์ว่าภายในปี 2525 ประชากร 2 ใน 3 ของโลกนั้นจะได้รับความทุกข์ทรมานจากการขาดแคลนน้ำ  
Imke Hoehler นักศึกษาจากสถาบันวิจิตรศิลป์และการออกแบบประเทศเยอรมณี จึงได้ทำวิทยานิพนธ์เพื่อหาทางออกจากปัญหาที่แสนท้าทายนี้ จนเป็นที่มาของอุปกรณ์ที่เรียกว่า DropNet ซึ่งได้รับการออกแบบให้สามารถเก็บเกี่ยวรูปแบบของน้ำได้หลากหลายจากทั้งอากาศและสายหมอก เป็นประโยชน์สำหรับพื้นที่อากาศเย็นและเป็นการรับมือกับปัญหาขาดแคลนน้ำจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป


                 

โดยหลักการทำงานเป็นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่น ซึ่ง DropNet สามารถปรับปรุงคุณภาพน้ำประปาในพื้นที่ที่มีข้อจำกัดทางด้านโครงสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน โดยการสะสมไอหมอกควันที่สามารถกลั่นเป็นหยดน้ำเล็กๆ และเกิดเป็นละอองน้ำที่หยดต่อๆ กัน โดยแต่ละหน่วยตาข่ายสามารถกักเก็บน้ำได้วันละ 10-20 ลิตร และการติดตั้งเป็นจำนวนมากจะทำให้สามารถแจกจ่ายน้ำสะอาดได้อย่างเพียงพอต่อการหล่อเลี้ยงคนทั้งหมู่บ้าน
ยิ่งไปกว่านั้นการสร้างหรือประกอบ ไม่จำเป็นต้องใช้ผู้ชำนาญการสามารถเป็นคนงานในท้องถิ่นได้ อีกทั้งการประกอบยังไม่มีรูปแบบตายตัว และสามารถประกอบได้ทั้งบนพื้นที่แนวราบและบนพื้นที่ไม่สม่ำเสมอกันได้ 



ที่มา: http://www.energysavingmedia.com/news/page.php?a=10&n=54&cno=5787


วันพฤหัสบดีที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การฟื้นตัวของปะการังฟอกขาว

การฟื้นตัวของปะการังฟอกขาว

ที่มา: http://iam.hunsa.com/dobby8179/article/

         ปะการังฟอกขาวกลายเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจขึ้นมาภายหลังเหตุการณ์ ข่าวน้ำมันรั่ว ปตทในอ่าวไทยเมื่อปี 2556 ที่ผ่านมา แท้จริงแล้วปัจจัยที่ทำให้เกิด ปะการังฟอกขาว นักวิชาการ ระบุว่า สาเหตุน่าจะเกิดจากอุณหภูมิของน้ำทะเลที่ขึ้นสูงกว่าปกติ ทั้งนี้ อุณหภูมิที่อาจถือว่าเป็นจุดกระตุ้นให้เกิด ปะการังฟอกขาว คือที่ประมาณ 30.1 องศาเซลเซียส หากปะการังอยู่ในสภาพที่อุณหภูมิสูงกว่า 30.1 องศาเซลเซียส เป็นเวลานานต่อเนื่องเกิน 3 สัปดาห์ ก็จะทำให้เกิดปะการังฟอกขาวขึ้นนั่นเอง โดยที่ผ่านมา ประเทศไทยศึกษาปะการังมากว่า 60-70 ปีแล้ว แต่พบปรากฏการณ์ ปะการังฟอกขาว รุนแรงเพียง 2 ครั้ง คือ ปี พ.ศ. 2541 และปีนี้ พ.ศ. 2553
ที่มา: http://iam.hunsa.com/frontline/article/

           สำหรับเหตุการณ์ปะการังฟอกขาวที่พบจากเหตุการณ์น้ำมันรั่วในอ่าวไทยเมื่อปี 2556 นั้น เป็นปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวแบบเฉียบพลัน ที่เกิดจากผลกระทบการปนเปื้อนของสารเคมี ทำให้ปะการังเกิดการฟอกขาวขึ้น ซึ่งเมื่อผ่านไปสักระยะหนึ่งจนสิ่งแวดล้อมในทะเลเริ่มปรับตัวและปริมาณสารเคมีลดลงสภาวะปะการังฟอกขาวดังกล่าวก็จะหมดไป จาก การศึกษาปะการังทุก 2-4 สัปดาห์ พบว่า ปะการังฟื้นตัวแต่ยังไม่คืนสู่สภาพปกติ มีสภาพฟอกขาวน้อยลงตามลำดับ ทั้งนี้ โดยปกติแล้วปะการังฟอกขาวในไทยจะเกิดเมื่อได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน การสำรวจล่าสุดพบว่า ภาวะฟอกขาวแบบเฉียบพลันจากสาเหตุน้ำมันรั่วได้ผ่านไปแล้ว แต่การศึกษายังอยู่ในช่วง “ภาวะเฝ้าระวัง” ซึ่งจะใช้เวลา 1-2 ปี แต่ในระยะยาวต้องศึกษาต่อไป คาดว่าจะดีขึ้น หากไม่มีผลกระทบอื่นๆ เข้ามาอีก

ที่มา: http://iam.hunsa.com/minnyy12/article/

              จากเหตุการณ์ข่าวน้ำมันรั่วไหลออกมากลางทะเล ซ้ำร้ายกว่านั้น ยังถูกคลื่นลมพัดพาคราบน้ำมันดิบไปติดบริเวณ      อ่าวพร้าวของเกาะเสม็ด จ.ระยอง เปลี่ยนหาดทรายชายทะเลอันขาวสวยใสของอ่าวพร้าว กลายมาเป็นสีดำทะมึน เกิดเป็นข่าวดังครึกโครมไปทั่วโลกกับเหตุการณ์ Koh Samet oil spill    ในฐานะคนไทยด้วยกัน  เราก็ไม่ควรที่จะไปซ้ำเติม ขุดคุ้ย หรือฟ้องร้องคดีน้ำมันรั่ว ที่เสม็ดกันอีกเลย เพราะผลกระทบของน้ำมันรั่ว ก็ได้สร้างความบอบช้ำให้กับชาวเสม็ดมามากแล้ว  ฉะนั้นเราควรให้กำลังชาวบ้านท้องถิ่น  และผู้ประกอบการบนเกาะเสม็ด ในการร่วมกันฟื้นฟู พัฒนาการท่องเที่ยวบนเกาะเสม็ด ให้กลับมาคึกคักดังเดิม  ทุกฝ่าย ทุกภาคส่วน ก็ควรร่วมมือกันสร้างประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว  สร้างความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยวคนไทย และนักท่องเที่ยวต่างชาติให้กลับมาเที่ยวเกาะเสม็ดดังเดิม


          หลังจากผ่านพ้นวิกฤตทะเลสีดำจากคราบน้ำมันดิบที่รั่วไหลทะลักไปแล้ว พบว่า จากการลงพื้นที่สำรวจบริเวณชายหาดอ่าวพร้าว จุดที่มีน้ำมันรั่วไหลทะลักเข้ามาเป็นจำนวนมาก ซึ่ง ณ ขณะนี้สภาพทางธรรมชาติกลับมาสมบูรณ์ 100 % โดยพื้นทรายชายหาดขาวสะอาด น้ำทะเลเขียวใส มีนักท่องเที่ยวซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มาแบบครอบครัวชาวต่างชาติ พากันมาพักผ่อนนอนอาบแดด และทำกิจกรรมทางน้ำกันอย่างสนุกสนาน

ปะการังฟอกขาว
ที่มา: http://iam.hunsa.com/minnyy12/article/
             
ที่มาข้อมูล : http://iam.hunsa.com/frontline/article/182726/

วันอังคารที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ทำไมถึงต้องปลูกป่าชายเลน?

ทำไมถึงต้องปลูกป่าชายเลน?


ที่มา: http://update66.com/page.php?id=54839
ป่าชายเลน (Mangrove forest)  นั้นจัดได้ว่าเป็นระบบนิเวศที่ประกอบไปด้วยพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ หลายชนิด ดำรงชีวิตร่วมกันในสภาพแวดล้อมที่เป็นดินเลน น้ำกร่อย และมีน้ำทะเลท่วมถึงอย่างสม่ำเสมอ เราจึงพบป่าชายเลนปรากฏอยู่ทั่วไปตามบริเวณที่เป็นชายฝั่งทะเล ปากแม่น้ำ ทะเลสาบ และ รอบเกาะแก่งต่างๆ ในพื้นที่ชายฝั่งทะเล หากเราเป็นอาสาไปปลูกป่าชายเลน เราอาจได้ยินชื่อที่คนในพื้นที่เรียกกันอีกชื่อว่า “ป่าโกงกาง” ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะพันธุ์ไม้ที่มีมากและมีบทบาทสำคัญที่สุดในป่าชายเลน คือ ไม้โกงกาง นี่เอง
 แล้วทำไมต้องปลูก ???
ที่มา: http://larts.rmutp.ac.th/2554/?p=2667
• ป่าชายเลนเป็นแหล่งพลังงาน และแหล่งวัตถุดิบไม้ใช้สอยและก่อสร้างในครัวเรือน
• ป่าชายเลนเป็นแหล่งพืชผักและพืชสมุนไพร 
• ป่าชายเลนเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของสัตว์น้ำ
• ป่าชายเลนเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน เป็นที่หลบภัยและที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ นานาชนิด


• ป่าชายเลนช่วยรักษาความสมดุลของระบบนิเวศชายฝั่งและใกล้เคียงโดยเฉพาะหญ้า ทะเลและปะการัง 
• ป่าชายเลนช่วยป้องกันดินพังทลายชายฝั่งทะเล 
ที่มา: http://www.news.rmutt.ac.th/archives/date/2010/12/page/3
• ป่าชายเลนเป็นพื้นที่สำหรับดูดซับสิ่งปฏิกูลต่างๆ 
• ป่าชายเลนช่วยปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่อาศัยบริเวณชายฝั่งจากภัย ธรรมชาติ
• ป่าชายเลนเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจและแหล่งศึกษาธรรมชาติ 
• ป่าชายเลนช่วยลดปริมาณก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ
ที่มา: http://www.motortrivia.com/section-bizzes-news-02/259-continental


ที่มาข้อมูล:http://blog.pigutnamjai.net/uncategorized/


  

วันพุธที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การเกิดไฟป่าในประเทศไทย



ที่มา:http://www.siangtai.com/new/?name=news&file=readnews&id=10656

การเกิดไฟป่าในประเทศไทย
การเกิดไฟป่าในประเทศไทย 
ประเภทของป่าไม้ในประเทศไทย 
ป่าไม้เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือสัตว์อื่นๆ เพราะป่าไม้มีประโยชน์ทั้งการเป็นแหล่งวัตถุดิบของปัจจัยสี่ คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรคสำหรับมนุษย์ และยังมีประโยชน์ในการรักษาสมดุลของสิ่งแวดล้อม ถ้าป่าไม้ถูกทำลายลงไปมาก ๆ ย่อมส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เช่น สัตว์ป่า ดิน น้ำ อากาศ ฯลฯ เมื่อป่าไม้ถูกทำลาย จะส่งผลไปถึงดินและแหล่งน้ำด้วย เพราะเมื่อเผาหรือถางป่าไปแล้ว พื้นดินจะโล่งขาดพืชปกคลุม เมื่อฝนตกลงมาก็จะชะล้างหน้าดินและความอุดมสมบูรณ์ของดินไป นอกจากนั้นเมื่อขาดต้นไม้คอยดูดซับน้ำไว้น้ำก็จะไหลบ่าท่วมบ้านเรือน และที่ลุ่มในฤดูน้ำหลากพอถึงฤดูแล้งก็ไม่มีน้ำซึมใต้ดินไว้หล่อเลี้ยงต้นน้ำลำธารทำให้แม่น้ำมีน้ำน้อย ส่งผลกระทบต่อมาถึงระบบเศรษฐกิจและสังคม เช่น การขาดแคลนน้ำในการการชลประทานทำให้ทำนาไม่ได้ผลขาดน้ำมาผลิตกระแสไฟฟ้า 

ประโยชน์ของทรัพยากรป่าไม้ 
ป่าไม้มีประโยชน์มากมายต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ได้แก่. 
ประโยชน์ทางตรง (Direct Benefits) ได้แก่ ปัจจัย 4 ประการ 
1. จากการนำไม้มาสร้างอาคารบ้านเรือนและผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น เฟอร์นิเจอร์ กระดาษ ไม้ขีดไฟ ฟืน เป็นต้น 
2. ใช้เป็นอาหารจากส่วนต่าง ๆ ของพืชและผล 
3. ใช้เส้นใยที่ได้จากเปลือกไม้และเถาวัลย์มาถักทอเป็นเครื่องนุ่งห่ม เชือกและอื่น ๆ 
4. ใช้ทำยารักษาโรคต่าง ๆ 

สาเหตุสำคัญของวิกฤตการณ์ป่าไม้ในประเทศไทย 
1. การลักลอบตัดไม้ทำลายป่า ตัวการของปัญหานี้คือนายทุนพ่อค้าไม้ เจ้าของโรงเลื่อย เจ้าของโรงงานแปรรูปไม้ ผู้รับสัมปทานทำไม้และชาวบ้านทั่วไป ซึ่งการตัดไม้เพื่อเอาประโยชน์จากเนื้อไม้ทั้งวิธีที่ถูกและผิดกฎหมาย ปริมาณป่าไม้ที่ถูกทำลายนี้นับวันจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามอัตราเพิ่มของจำนวนประชากร ยิ่งมีประชากรเพิ่มขึ้นเท่าใด ความต้องการในการใช้ไม้ก็เพิ่มมากขึ้น เช่น ใช้ไม้ในการปลูกสร้างบ้านเรือนเครื่องมือเครื่องใช้ในการเกษตรกรรมเครื่องเรือนและถ่านในการหุงต้ม เป็นต้น 
2. การบุกรุกพื้นที่ป่าไม้เพื่อเข้าครอบครองที่ดิน เมื่อประชากรเพิ่มสูงขึ้น ความต้องการใช้ที่ดินเพื่อปลูกสร้างที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินก็อยู่สูงขึ้น เป็นผลผลักดันให้ราษฎรเข้าไปบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ แผ้วถางป่า หรือเผาป่าทำไร่เลื่อนลอย นอกจากนี้ยังมีนายทุนที่ดินที่จ้างวานให้ราษฎรเข้าไปทำลายป่าเพื่อจับจองที่ดินไว้ขายต่อไป 
3. การส่งเสริมการปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจเพื่อการส่งออก เช่น มันสำปะหลัง ปอ เป็นต้น โดยไม่ส่งเสริมการใช้ที่ดินอย่างเต็มประสิทธิภาพทั้ง ๆ ที่พื้นที่ป่าบางแห่งไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการเกษตร 

4. การกำหนดแนวเขตพื้นที่ป่ากระทำไม่ชัดเจนหรือไม่กระทำเลยในหลาย ๆ พื้นที่ ทำให้ราษฎรเกิดความสับสนทั้งโดยเจตนาและไม่เจตนา ทำให้เกิดการพิพาทในเรื่องที่ดินทำกินและที่ดินป่าไม้อยู่ตลอดเวลาและมักเกิดการร้องเรียนต่อต้านในเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดิน 
5. การจัดสร้างสาธารณูปโภคของรัฐ เช่น เขื่อน อ่างเก็บน้ำ เส้นทางคมนาคม การสร้างเขื่อนขวางลำน้ำจะทำให้พื้นที่เก็บน้ำหน้าเขื่อนที่อุดมสมบูรณ์ถูกตัดโค่นมาใช้ประโยชน์ ส่วนต้นไม้ขนาดเล็กหรือที่ทำการย้ายออกมาไม่ทันจะถูกน้ำท่วมยืนต้นตาย เช่น การสร้างเขื่อนรัชชประภาเพื่อกั้นคลองพระแสงอันเป็นสาขาของแม่น้ำพุมดวง-ตาปี ทำให้น้ำท่วมบริเวณป่าดงดิบซึ่งมีพันธุ์ไม้หนาแน่นประกอบด้วยสัตว์นานาชนิดนับแสนไร่ ต่อมาจึงเกิดปัญหาน้ำเน่าไหลลงลำน้ำพุมดวง 
6. ไฟไหม้ป่า มักจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งอากาศแห้งและร้อนจัด ทั้งโดยธรรมชาติและจากการกระทำของมะม่วงที่อาจลักลอบเผาป่าหรือเผลอ จุดไฟทิ้งไว้โดยเฉพาะในป่าไม้เป็นจำนวนมาก 
7. การทำเหมืองแร่ แหล่งแร่ที่พบในบริเวณที่มีป่าไม้ปกคลุมอยู่ มีความจำเป็นที่จะต้องเปิดหน้าดินก่อนจึงทำให้ป่าไม้ที่ขึ้นปกคลุมถูกทำลายลง เส้นทางขนย้ายแร่ในบางครั้งต้องทำลายป่าไม้ลงเป็นจำนวนมาก เพื่อสร้าง ถนน หนทาง การระเบิดหน้าดิน เพื่อให้ได้มาซึ่งแร่ธาตุ ส่งผลถึงการทำลายป่า

ที่มาของข้อมูล:http://thamsuwan.blogspot.com/2010/03/blog-post_5006.html?m=1



       ที่มารูปภาพ:http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9560000071769