วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การช่วยรักษาความสะอาดในชุมชน

การช่วยรักษาความสะอาดในชุมชน
       การช่วยรักษาความสะอาดในชุมชนโดยการรณรงค์นำป้ายไปติดเพื่อปลูกจิตสำนึกให้คนในชุมชนทิ้งขยะกันให้ถูกต้องและถูกที่ เพื่อเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแล้วยังเป็นการลดมลพิษได้อีกด้วย





วันศุกร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2557

Ice Bucket Challenge

โครงการรณรงค์ราดน้ำแข็ง เป็นที่มาของการสิ้นเปลืองทรัพยากรน้ำหรือไม่?

ที่มา:http://www.usnews.com/news/technology/articles/2014/08/07/soaked-for-charity-ice-bucket-challenges-get-cool

“Ice Bucket Challenge”โครงการรณรงค์เพื่อการกุศลของสมาคมเพื่อโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง( ALS Association) ด้วยการราดน้ำแข็งและท้าทายผู้อื่น นำมาซึ่งคำถามที่ว่า เรากำลังสูญเสียทรัพยากรน้ำอยู่หรือไม่?
              กำลังเป็นที่ฮือฮาอยู่ในขณะที่สำหรับโครงการรณรงค์เพื่อการกุศลของเหล่าคนดัง ในการราดน้ำแข็งชุ่มฉ่ำพร้อมกับท้าทายผองเพื่อน แต่ก็มีมุมมองของผู้ที่สงสัยออกมาว่าการใช้น้ำเพื่อการณรงค์นี้จะเป็นการสูญเสียทรัพยากรน้ำเกินไปหรือไม่
โดยโครงการนี้เรียกได้ว่าประสบผลสำเร็จเป็นอย่างมากในระดมทุนได้กว่า 22.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในวันที่ 19 สิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งเมื่อเทียบกับปีที่แล้วที่ได้ 1.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ก็ถือเป็นตัวเลขที่บ่งบอกถึงความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่มาก
“Umbra Fisk”  บริษัทเพื่อการวิจัยและให้คำแนะนำการใช้ชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จึงได้ออกมาไขข้อสงสัยในโครงการที่อาจมีเสียงคัดค้านในวิธีการเพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้พิจารณาถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น
     

ที่มา:http://www.amongtech.com/10-tech-ceos-that-have-done-the-ice-bucket-challenge/
               
              แล้วอะไรเป็นตัวชี้วัดการสูญเสีย ในเมื่อมันอาจเป็นการคาดเดาได้ยากในปริมาณที่แต่ละคนใช้รวมกันทั้งหมด ทาง “Umbra Fisk” เลยคาดเดาปริมาณคร่าวๆ กับค่าเฉลี่ยการใช้ด้วยถังขนาด 5 แกลลอน กับการใช้น้ำในชีวิตประจำวันที่ชาวอเมริกันเฉลี่ยโดยที่ 80-100 แกลลอน ก็ถือเป็นปริมาณที่ไม่ค่อยน่ากังวลนัก อีกทั้งยังมีวิธีประหยัดและการหาแหล่งน้ำจากที่อื่นได้ เช่น การยืนอยู่ในสระว่ายน้ำ เพื่อไม่ให้เป็นการสูญเสีย บ้านเราอาจปรับใช้ด้วยการยืนอยู่บนสนามหญ้าเวลาที่เรารดน้ำ  หรือร่วมโครงการเวลาก่อนเวลาอาบน้ำ หรือง่ายที่สุดคือนำถังมารองเพื่อนำน้ำนั้นกลับมาใช้ใหม่ได้
ซึ่งการสูญเสียหรือไม่นั้น ปัจจัยขึ้นอยู่กับวิธีการที่ผู้คนนั้นปฏิบัติ และมุมมองของการตระหนักถึงสิ่งแวดล้อม ในขณะที่บางคนอาจเตรียมการมาอย่างดีในการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า แต่บางคนอาจฉุกละหุกกับช่วงเวลาท้าทายที่กระชั้นชิด จะอย่างไรก็ตาม แค่เพียงอย่าลืมตระหนักถึงเป้าหมายของโครงการว่าต้องการณรงค์เพื่อผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรง ในขณะที่โลกอันแห้งแล้งและขาดแคลนน้ำก็ยังเป็นปัญหาที่สำคัญในหลายพื้นที่

ที่มา:http://www.energysavingmedia.com/news/page.php?a=10&n=54&cno=6103

วันอังคารที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2557

มลพิษทางอากาศหยุดได้

มลพิษทางอากาศหยุดได้

มลพิษทางอากาศ ที่เกิดจากอุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้น ยานพาหนะเพิ่มขึ้นคือ สิ่งที่เราหายใจเข้าสู่ร่างกายทุกวันและมันกำลังจะฆ่าเรา
               จากการสำรวจทั่วโลกพบว่า เศรษฐกิจโลกที่มีการขยายตัวมากขึ้น โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรม ทำให้ทั่วโลกสร้างมลพิษขึ้นอย่างมากจนทำลายชั้นบรรยากาศ และมันยังลอยตัวคลุมท้องฟ้าหรือชั้นบรรยากาศของเราอยู่ ซึ่งนั่นหมายความว่าอากาศที่เราใช้หายใจกันทุกวันก็คือควันพิษนั่นเอง และที่น่ากลัวมากกว่านั้นคือมลพิษทางอากาศติด 1 ใน 10 อันดับพิษที่ฆ่าคนได้มากที่สุดในโลก

health_momypedia
                
                สำหรับแนวทางแก้ไขปัญหามลพิษก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมีนักวิชาการและนักปฏิบัติหลายๆ คนออกมายืนยันแล้วว่าการทำล้างพิษออกจากอากาศเป็นเรื่องยากมาก และต้องใช้เวลาหลายสิบปีหรืออาจจะเป็นร้อยปี แต่เราสามารถช่วยลดการเพิ่มมลพิษทางอากาศได้ดังนี้

      • ลดการใช้เชื้อเพลิงที่ก่อให้เกิดเขม่าละอองพิษสูงๆ และเปลี่ยนมาใช้เชื้อเพลิงบริสุทธิ์หรือพลังงานทดแทนอื่นๆ
      • ลดการใช้รถยนต์เพื่อลดควันเสียในอากาศ
      • ลดการเผาทำลายขยะ
      • ลดการใช้สารพิษต่างๆ เช่น ยาฆ่าแมลง หรือแม้แต่สเปรย์ฉีดผม
      • การรณรงค์ปลูกต้นไม้ สร้างพื้นที่สีเขียว หรือสร้างพื้นที่ของแหล่งน้ำใหม่ๆ ก็ยังสำคัญและจำเป็น แต่ต้องมีการดูแลอย่างต่อเนื่องและทำให้เพิ่มจำนวนขึ้นเสมอ
  • ที่มา: http://www.momypedia.com/article-6-35-88/มลพิษทางอากาศ---1-ใน-10-พิษที่ฆ่าคนทั่วโลก/
  •        
  •        

วันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2557

เมืองลอยน้ำรับมือภัยน้ำท่วม

เมืองลอยน้ำรับมือภัยน้ำท่วมของกรุงลอนดอน

              

          


               เมื่อภัยน้ำท่วมนั้นเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งและไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แนวความคิดย้ายเมืองบนบกลงไปลอยอยู่เหนือน้ำจึงเกิดขึ้น ณ กรุงลอนดอน


             สถาบันสถาปัตยกรรม “dRMM” ได้ชนะการประกวดออกแบบเมืองลอยน้ำได้สำหรับชุมชนในอังกฤษ บนพื้นที่ 15 เอเคอร์บนแม้น้ำทางตะวันออกของสายการบินเอมิเรตส์ ซึ่งหมู่บ้านลอยน้ำนี้ เป็นแนวความคิดใหม่ของสหราชอาณาจักร แต่ได้รับความนิยมแล้วในยุโรปโดยเฉพาะในฮอนแลนด์ ที่การออกแบบสร้างบ้านหรือพื้นฐานของเมืองนั้น มีระดับน้ำทะเลเข้ามาเป็นปัจจัยพื้นฐาน  อีกทั้งแนวความคิดนี้ ยังสามารถนำไปสู่การสร้างเศรษฐกิจและเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ที่ครบครันไปด้วยตลาดน้ำ ที่จัดแสดงนิทรรศการ กิจกรรม หรือกีฬาทางน้ำได้ 

            โดยโครงการมีกำหนดเข้าสู่ขบวนการวางแผนเป็นรูปธรรมกับสถาบัน “Newham” ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ2015 และถูกคาดหวังให้เป็นที่อยู่อาศัยที่ให้ความสะดวกสบาย เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของทางการและผู้อยู่อาศัยในอนาคตได้ 


               

ที่มา: http://www.energysavingmedia.com/news/page.php?a=10&n=15&cno=6038


                                 

วันเสาร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2557

จักรยานปั่นเพื่อการผสมปุ๋ยชีวภาพ

  จักรยานปั่นเพื่อการผสมปุ๋ยชีวภาพ

นักออกแบบเพื่อความยั่งยืน เบนจามิน โจน ได้ผสมผสานสิ่งที่เขารักนั่นคือจักรยานและการอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติ ด้วยการประดิษฐ์ถังผสมปุ๋ยชีวภาพด้วยพลังงานจากการปั่นจักรยาน
โดยจักรยานเพื่อการผสมปุ๋ยนี้ ตั้งอยู่ที่สวน Red Gateในนิวยอร์ก ทั้งนี้ เพื่อเป็นการให้ความรู้คนในชุมชนเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติ ด้วยวิธีการให้คนในชุมชนนั้น นำขยะ เศษใบไม้ ขี้เลื่อยหรืออาหารเน่าเสียหมดอายุมาใส่รวมกันในถัง แล้วปั่นเพื่อให้ได้ปุ๋ยชีวภาพออกมา 

ด้วยการตกแต่งสิ่งประดิษฐ์ด้วยหัวม้าแสนน่ารัก ต่อกลไกเข้ากับจักรยานเพื่อการปั่นถังผสมปุ๋ย ผสมผสานให้มีความลงตัวเพื่อการลดขยะ อีกทั้งเป็นการออกกำลังกาย รวมไปถึงได้ความสนุก และที่สำคัญเป็นการผลิตปุ๋ยชั้นดีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  

ซึ่งปุ๋ยที่ได้นั้นสามารถนำมาใช้เพื่อพืชพรรณในสวน โดยผู้คิดค้นไม่เพียงหวังให้เป็นการลดขยะและสร้างพื้นที่สีเขียวเท่านั้น แต่ยังหวังที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้คนเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต และนำสิ่งประดิษฐ์ของเขาไปประยุกต์เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดียิ่งขึ้นต่อไป 



ที่มา:http://www.energysavingmedia.com

วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การปลูกต้นไม้เพิ่มออกซิเจน


การปลูกต้นไม้เพิ่มออกซิเจน

 
 ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ได้รบความสนใจจากผู้คนมากที่สุดคือ  ปัญหาโลกร้อน หรือสภาวะเรือนกระจก  ซึ่งวิธีการแก้ปัญหา หรือลดความรุนแรงของปัญหานี้ได้ดีที่สุดก็คือ การเพิ่มพื้นที่สีเขียว หรือการปลูกต้นไม้เพิ่มนั่นเอง



                  ต้นไม้ช่วยลดโลกร้อนด้วยการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกเข้าไปเพื่อใช้ในการสังเคราะห์แสง โดยตลอดอายุขัยของไม้ยืนต้น 1 ต้น จะสามารถเก็บกักคาร์บอนได้เฉลี่ย 1-1.7 ตันคาร์บอน และยังสามารถดูดซับก๊าซอื่นๆ ที่เป็นพิษต่อร่างกายมนุษย์ และสิ่งแวดล้อมได้อีก เช่น ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ และก๊าซโอโซนเป็นต้นนอกจากนี้ต้นไม้ 1 ต้นยังสามารถดักจับอนุภาคมลพิษบางชนิดได้ เช่น ฝุ่น ควัน ไอพิษต่างๆ ได้ถึง 1.4 กิโลกรัม/ปี



ที่มาสำหรับข้อมูล : http://www.seub.or.th/

ขอบคุณสถานที่ ทิพวัลย์ รีสอร์ท ผู้ปกครองของสมาชิกในกลุ่ม

วันศุกร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

DropNet

DropNet 

ตาข่ายเก็บเกี่ยวสายหมอกเพื่อสร้างเป็นน้ำดื่มอันบริสุทธิ์




ในทุกๆ ปี ประชากรกว่า 2.5 ล้านคนนั้น ต้องจบชีวิตลงจากความกระหายหรือการดื่มน้ำที่ปนเปื้อนสารพิษ ผู้เชี่ยวชาญจากสหประชาชาติจึงได้คาดการณ์ว่าภายในปี 2525 ประชากร 2 ใน 3 ของโลกนั้นจะได้รับความทุกข์ทรมานจากการขาดแคลนน้ำ  
Imke Hoehler นักศึกษาจากสถาบันวิจิตรศิลป์และการออกแบบประเทศเยอรมณี จึงได้ทำวิทยานิพนธ์เพื่อหาทางออกจากปัญหาที่แสนท้าทายนี้ จนเป็นที่มาของอุปกรณ์ที่เรียกว่า DropNet ซึ่งได้รับการออกแบบให้สามารถเก็บเกี่ยวรูปแบบของน้ำได้หลากหลายจากทั้งอากาศและสายหมอก เป็นประโยชน์สำหรับพื้นที่อากาศเย็นและเป็นการรับมือกับปัญหาขาดแคลนน้ำจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป


                 

โดยหลักการทำงานเป็นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่น ซึ่ง DropNet สามารถปรับปรุงคุณภาพน้ำประปาในพื้นที่ที่มีข้อจำกัดทางด้านโครงสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน โดยการสะสมไอหมอกควันที่สามารถกลั่นเป็นหยดน้ำเล็กๆ และเกิดเป็นละอองน้ำที่หยดต่อๆ กัน โดยแต่ละหน่วยตาข่ายสามารถกักเก็บน้ำได้วันละ 10-20 ลิตร และการติดตั้งเป็นจำนวนมากจะทำให้สามารถแจกจ่ายน้ำสะอาดได้อย่างเพียงพอต่อการหล่อเลี้ยงคนทั้งหมู่บ้าน
ยิ่งไปกว่านั้นการสร้างหรือประกอบ ไม่จำเป็นต้องใช้ผู้ชำนาญการสามารถเป็นคนงานในท้องถิ่นได้ อีกทั้งการประกอบยังไม่มีรูปแบบตายตัว และสามารถประกอบได้ทั้งบนพื้นที่แนวราบและบนพื้นที่ไม่สม่ำเสมอกันได้ 



ที่มา: http://www.energysavingmedia.com/news/page.php?a=10&n=54&cno=5787