วันพุธที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2557

อากาศของไทยแบบแห้งแล้งกึ่งทะเลทราย

คำถาม : อากาศของไทยที่เกิดจากการคาดคะเนของเขตภูมิอากาศแบบแห้งแล้งกึ่งทะเลทราย  ?

คำตอบ
            Bsh คือ เขตภูมิอากาศแบบแห้งแล้งกึ่งทะเลทราย  เป็นเขตภูมิอากาศแบบแห้งแล้ง ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 380-760 มิลลิลิตร บริเวณทีมีลักษณะภูมิประเทศเป็นแอ่งทีมีภูเขาสูงล้อมรอบ ปริมาณนําฝนในเขตทุ่งหญ้าสแตปป์มีปริมาณน้อย มาก บางแห่งไม่มีฝนตกเลย ทําให้บริเวณนีจะทําการเพาะปลูกได้ต้องอาศัยระบบ ชลประทานเข้าช่วยจึงจะสามารถเพาะปลูกได้ พืชพันธุ์ธรรมชาติในบริเวณนีเป็น หญ้าตนสันๆ รากตืน โดยมากอยู่ใน บริเวณกึงแห้งแล้ง ในบริเวณทีแห้งแล้งมากตนหญ้าก็จะสันมาก ในช่วงฤดูฝนใน พืนทีทีมีฝนตกพอเพียงก็จะทําให้ต้นหญ้าเหล่านีเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จนทําให้ กลายสภาพเป็นทุ่งหญ้าเขียวขจีขนาดใหญ่ แต่เมือหมดฝน ทุ่งหญ้าเหล่านีก็เฉาตาย กลายเป็นทุ่งหญ้าต้นสั้นๆ เหมือนเดิม
ทุ่งหญ้าสเตปป์
ที่มา: http://sameaf.mfa.go.th/th/country/central-asia/tips
สาเหตุที่ทำให้ภูมิอากาศเกิดการเปลี่ยนแปลงไป
              1.สาเหตุจากบนผิวโลก <terrestrial cause>
ปัจจัยที่ทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง
ที่มา: http://www.vcharkarn.com/varticle/41197
  • เกิดการเปลี่ยนแปลงกระจายตัวของพื้นดินและพื้นน้ำ 
  • การเปลี่ยนแปลงลักษณะภูมิประเทศ 
  • การเคลื่อนที่ของเปลือกโลก
  • การเปลี่ยนส่วนผสมของบรรยากาศ
   2.สาเหตุจากทางดาราศาสตร์ <astronomical cause>
 
  • การเปลี่ยนแปลงการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ 
  • การเอียงของเปลือกโลก 
การเอียงของเปลือกโลก
ที่มา: http://www.vcharkarn.com/varticle/41197

  • การเปลี่ยนตำแหน่งในแนววงโคจรของโลก

  • การเปลี่ยนแปลงสนามแม่เหล็กของโลก             
           3.สาเหตุจากภายนอกโลก <extraterrestrial cause>
  •   การผันแปรของปริมาณรังสีดวงอาทิตย์ที่แผ่ออกมา 
 -จุดดับบนดวงอาทิตย์<sunspot>
     
ที่มา: http://www.space.mict.go.th/knowledge.php?id=sun2
-หมอกที่ปิดกั้นระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์<nebulae>

        ทุกสาเหตุที่กล่าวมาข้างต้น เป็นปัจจัยทางธรรมชาติที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโดยตรง นอกจากปัจจัยทางธรรมชาติที่กล่าวมาแล้ว ยังมีอีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ "ปัจจัยที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์"
              4.สาเหตุจากมนุษย์
             กิจกรรมของมนุษย์ที่มีผลทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง คือ กิจกรรมที่ทำให้ปริมาณก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases) ในบรรยากาศเพิ่มมากขึ้น เป็นเหตุให้ภาวะเรือนกระจก (Greenhouse Effect) รุนแรงกว่าที่ควรจะเป็นตามธรรมชาติ และส่งผลให้อุณหภูมิพื้นผิวโลกสูงขึ้น ที่เรียกว่า ภาวะโลกร้อน (Global warming)
53790
การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงมา
ที่มา: http://www.oknation.net/blog/print.php?id=202959


      สรุป  สาเหตุที่ทำให้ภูมิอากาศเกิดการเปลี่ยนแปลงไปนั้น เมื่อเรานำมาเปรียบเทียบในประเทศไทยที่มีภูมิอากาศเขตร้อนแล้วเมื่อเวลาผ่านไปทำให้เกิดการเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศเป็นเขตภูมิอากาศแบบแห้งแล้งกึ่งทะเลทราย สาเหตุที่เปลี่ยนนั้นก็มาจากธรรมชาติส่วนนึงที่เราได้นำเสนอไปข้างต้นแล้วและยังมีสาเหตุที่มาจากมนุษย์อีกด้วย ซึ่งมนุษย์เป็นสิ่งที่มีผลอย่างมากในปัจจุบันที่ทำให้ภูมิอากาศนั้นเปลี่ยนไปในทางที่แย่ลง แต่ถ้ามนุษย์ได้รู้ถึงข้อเสียแล้วนำมาปรับปรุง เราก็จะไม่ต้องเผชิญกับสิ่งที่เราไม่อยากเผชิญ แล้วยังเป็นการอนุรักษ์โลกของเราไว้ให้นานเท่านาน
   ที่มา:      http://e-book.ram.edu/e-book/g/GE410/chapter5.pdf http://www.oknation.net/blog/print.php?id=700995





วันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2557

การลักลอบตัดไม้ทำลายป่า

การลักลอบตัดไม้ทำลายป่า



การลักลอบตัดไม้ทำลายป่า บริเวณแนวชายแดน พื้นที่ 5 อำเภอชายแดน จังหวัดตาก
     สภาพพื้นที่ป่าขะเนจื๊อที่ปรากฎการลักลอบทำลายทรัพยากรป่าไม้ มีครอบคลุมพื้นที่ 4 หมู่บ้าน ได้แก่ บ.ขะเนจื๊อ บ.ห้วยปลากอง และ บ.ไร่ดินแดง ต.ขะเนจื๊อ อ.แม่ระมาด จ.ตาก ซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่ระมาด โดยลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบร่องเขาระหว่าง ดอยเรวา ดอยผาแดง และดอยพระเจ้า ซึ่งทอดยาว ในแนวเหนือ-ใต้ มีห้วยลำน้ำที่สำคัญ ประกอบด้วย  ห้วยปลากอง  ห้วยงูเห่า  ห้วยขึ้นล่อง ห้วยขะเนจื๊อเท่อ ซึ่งมีน้ำไหลตลอดปี โดยมีต้นน้ำที่เกิดจากดอยผาแดง และ ดอยเรวา และไหลลงสู่แม่น้ำเมย ซึ่งเป็นเส้นเขตแดนไทย-พม่า

                    ที่มา: http://www.4infreg.com/movie/khanechue_forest_news.php
  1. การบุกรุกพื้นที่ป่า เพื่อประสงค์ที่ดิน
          1.1 การบุกรุกพื้นที่ป่าโดยราษฎร บ.ห้วยปลากอง และหมู่บ้านใกล้เคียง ในการขยายพื้นที่เพาะปลูกจากบริเวณหมู่บ้าน ไปยังพื้นที่ป่าเชิงเขาและริมแม่น้ำเมย  ส่วนใหญ่อยู่ในบริเวณ ดอยเรวา และห้วยขึ้นล่อง  ด้วยวิธีการ เข้ากานไม้สักยืนต้นจนใบไม้หลุดร่วงตายเอง  และถากถางพื้นที่เพาะปลูก จนแสงแดดถึงพื้นดิน จึงทำการเพาะปลูก แซมไม้สักยืนต้นตาย  และจะตัดโค่นไม้สัก ลักลอบจำหน่ายให้ผู้ประกอบการต่อไป  ซึ่งในพื้นที่จะเหลือสภาพที่เป็นตอไม้ที่รอการเผาทำลาย เป็นพื้นที่เพาะปลูกโดยสมบูรณ์และจะขยายพื้นที่ในลักษณะดังกล่าวในบริเวณโดยรอบต่อไป  ซึ่งเป็นวิธีการที่ทำแบบค่อยเป็นค่อยไป จนสามารถครอบครองที่ดินโดยราษฎรได้  ทั้งนี้หากไม่มีเจ้าหน้าที่เข้าดำเนินการ ซึ่งอาจทำให้นายทุนซื้อที่ดินเข้าครอบครองพื้นที่ในอนาคตต่อไป

               ที่มา: http://www.4infreg.com/movie/khanechue_forest_news.php
        
  1.2  การบุกรุกพื้นที่ป่าโดยผู้ประกอบการ หรือ นายทุน ด้วยวิธีการ จับจองพื้นที่ กั้นแนวรั้ว  
กานไม้สักยืนต้นตาย  และครอบครองทำการเกษตรหรือการลักลอบตัดไม้ เพื่อจำหน่าย รวมทั้ง
หากไม่มีเจ้าหน้าที่เข้าไปดำเนินการอาจมีการขยายพื้นที่ป่าเป็นบริเวณกว้างในอนาคตต่อไปได้ ทั้งนี้การบุกรุกจะใช้พื้นที่ป่าใกล้แนวเส้นทาง และริมแม่น้ำเมย  บริเวณ บ.ห้วยปลากอง  และห้วยขึ้นล่อง

ที่มา: http://www.4infreg.com/movie/khanechue_forest_news.php
แนวทางดำเนินการแก้ไขปัญหา
     1. ใช้มาตรการตามแนวทางต่อการลักลอบตัดไม้ เพื่อประสงค์ไม้ และที่ดิน 
     2. จัดทำแผนโครงการร่วมมือ ระหว่างส่วนราชการและประชาชน ให้ครอบคลุมมาตรการต่อการลักลอบตัดไม้เพื่อประสงค์ไม้ และที่ดิน
     3. ประชาคมชาวบ้าน ใช้ภาพถ่ายทางอากาศ/ภาพถ่ายดาวเทียมให้ชุมชน นำชี้พื้นที่ทำกิน 
     4. จัดสรรที่ทำกินให้ราษฎร โดยใช้พื้นที่บุกรุกเดิม และพื้นที่ยึดคืน 
     5. จัดทำโครงการฟื้นฟูสภาพป่า 
     6. จัดสร้างจุดตรวจการณ์ และจุดต้านทานถาวรบนที่สูง ตรวจการณ์ครอบคลุมพื้นที่ 
โดยยึดหลัก : หยุดยั้ง ยึดคืน ฟื้นฟู ดูแลรักษา อย่างเป็นวงจร ตามลำดับ ดังนี้
                         

ที่มา: http://www.4infreg.com/movie/khanechue_forest_news.php

ที่มาสำหรับข้อมูล: http://www.4infreg.com/movie/khanechue_forest_news.php

วันพฤหัสบดีที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2557

แผ่นดินไหว


 แผ่นดินไหว


   ผลกระทบจากเหตุการณ์ภัยพิบัติ ไม่ให้ความสำคัญและใส่ใจมากนัก แต่ในช่วงระยะเวลา
เพียง 10 กว่าปีที่ผ่านมาเท่านั้น ตามมาเช่นสึนามิหรือเพลิงไหม้เป็นต้น

              ความเสียหายจากแผ่นดินไหว            
          แผ่นดินไหวเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ส่งแรงสั่นสะเทือนและมีผลกระทบไปในบริเวณกว้างและไกล ไม่เฉพาะบริเวณที่เป็นศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหว และหากเป็นแผ่นดินไหวขนาดใหญ่สามารถส่งแรงสั่นสะเทือนไปได้หลายพันกิโลเมตร ดังนั้นหลายประเทศจึงได้มีการตรวจวัดแผ่นดินไหวในระบบเครือข่ายทั้งในระดับประเทศและเครือข่ายระดับโลก เพื่อวิเคราะห์ตำแหน่ง ขนาดและเวลาเกิดแผ่นดินไหว โดยประเทศไทยเริ่มมีการตรวจแผ่นดินไหวเมื่อปี 2526 และสถานีตรวจแผ่นดินไหวแห่งแรกของกรมอุตุนิยมวิทยา ณ จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมกับเข้าร่วมเป็นเครือข่ายระบบมาตรฐานโลก (Worldwide Standardized Seismograph Network: WWSSN) ซึ่งขนาดและความรุนแรงของการเกิดแผ่นดินไหวจะมีหน่วยเป็น “มาตราริคเตอร์” และ “มาตราเมอร์แคลลี่”’
      สาเหตุการเกิดแผ่นดินไหว
 1. กระบวนการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ เช่น การเคลื่อนที่ของเปลือกโลก
 2. ภูเขาไฟระเบิด (ในขณะที่แมกมาใต้ผิวโลกเคลื่อนที่ตามเส้นทางสู่ปล่องภูเขาไฟ สามารถทำให้เกิดแผ่นดินไหวก่อนมีการระเบิดของภูเขาไฟ)
 3. การกระทำของมนุษย์ เช่น การทดลองระเบิดปรมาณู การระเบิดพื่นที่เพื่อสำรวจวางแผนก่อนสร้างเขื่อน เป็นต้น   


การเกิดแผ่นดินไหวที่ประเทศญี่ปุ่น 9.0 ริกเตอร์
ที่มา: http://203.172.208.67/damrong2010/thai/kruarcharaporn2/L3_9.html
       
          สำหรับประเทศไทยของเราเองแผ่นดินไหวที่อำเภอพาน พ.ศ. 2557 เกิดขึ้นเมื่อเวลา 18.08.43 น. ตามเวลาท้องถิ่นของประเทศไทย (UTC+7) ในวันที่ 5 พฤษภาคม 2557 สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานว่า จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวอยู่ในตำบลทรายขาว อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ต่อมา กรมทรัพยากรธรณี ระบุว่าการใช้เครื่องมือตรวจวัดได้ข้อสรุปใหม่ว่าศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหวอยู่ที่ตำบลดงมะดะ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย เนื่องจากพบแนวรอยแยกปรากฏอยู่จำนวนมาก ส่วน USGS รายงานว่าจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวอยู่ห่างจากอำเภอแม่ลาวไปทางใต้ 9 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากตัวเมืองจังหวัดเชียงรายไปทางตะวันตกเฉียงใต้ 27 กิโลเมตร มีผู้เสียชีวิต 2 คน

สภาพความเสียหายบนถนน
                   แผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดขึ้นจากการปลดปล่อยพลังงานของรอยเลื่อนพะเยาจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ลึกลงไปใต้ดิน 6 กิโลเมตร ซึ่งถือว่าตื้น ทำให้มีความรุนแรงและความเสียหายเป็นอย่างมาก โดยแรงสั่นสะเทือนทำให้เกิดความเสียหายแก่สิ่งปลูกสร้างในระยะ 30 กิโลเมตรจากจุดศูนย์กลาง และมีแผ่นดินไหวตามมากอีกมากกว่า 100 ครั้งทั้งนี้ยังมีการให้เฝ้าระวังแผ่นดินไหวตามที่อาจเกิดขึ้นจากรอยเลื่อนพะเยาในจังหวัดเชียงราย จังหวัดพะเยาและจังหวัดลำปาง

     ที่มา: http://sscc.isit.or.th/ ,  http://region3.prd.go.th/natural-disaster/journal5.php


      

วันพฤหัสบดีที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2557

การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
มนุษย์นำทรัพยากรมาคัดแปลงให้เกิดประโยชน์ แต่ทรัพยากรธรรมชาติก็มีข้อจำกัดในด้านการเพิ่มจำนวนให้ทันต่อความต้องการของมนุษย์ที่นับวันจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยการนำทรัพยากรมาใช้ให้เกิดประโยชน์



http://cict.mnre.go.th/ewt_news.php?nid=155

การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Environmental Conservation) หมายถึงการใช้สิ่งแวดล้อม อย่างมีเหตุผล เพื่ออำนวยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีตลอดไปแก่มนุษย์ 

หลักการและวิธีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ

 

ที่มา: http://saveworld.dekitclub.com/global-warming-and-school.html
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ คือ การใช้สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติอย่างชาญฉลาดและใช้ให้เกิดประโยชน์ หลักการและวิธีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ มีดังนี้
1. การถนอมรักษา คือ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติให้คงสภาพทั้งปริมาณและคุณภาพเอาไว้ โดยใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น กรณีแร่เหล็กแทนที่จะนำมาใช้โดยตรงก็นำไปผสมกับแร่ธาตุอื่น ๆ เพื่อใช้เป็นเหล็กกล้า ซึ่งนอกจากจะลด ปริมาณการใช้เนื้อเหล็กให้น้อยลงแล้วยังช่วยยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานออกไปอีกด้วย เป็นต้น
2. การบูรณะฟื้นฟู  คือ การทำให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกลับคืนมาใช้ประโยชน์ได้เหมือนเดิม เช่น ดินที่นำมาใช้เพื่อการเพราะปลูกพืชชนิดเดียวกันติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้คุณภาพของดินเสื่อมลง การบูรณะฟื้นฟูจะทำได้โดยการใส่ปุ๋ยปลูกพืชคลุมดิน หรือพักหน้าดินไว้สักช่วงระยะหนึ่ง เป็นต้น
การใส่ปุ๋ยปลูกพืชคลุมดิน
  ที่มา:http://www.oknation.net/blog/
3. การนำกลับมาใช้ใหม่  หรือที่เรียกว่า รีไซเคิล นอกจากการถนอมรักษาและการบูรณะฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติแล้ว การนำทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ใช้ไปแล้วกลับมาใช้ใหม่ถือเป็นการอนุรักษ์อีกวิธีหนึ่ง ซึ่งการอนุรักษ์ชนิดนี้จะทำได้ดีกับทรัพยากรน้ำและแร่ธาตุบางชนิด เช่น การนำเศษกระดาษ พลาสติก อลูมิเนียม สังกะสี ตะกั่ว ทองแดง และเหล็กที่ทิ้งแล้วกลับมาหลอมหรือเปลี่ยนสภาพ ให้นำกลับมาใช้ได้อีก เป็นต้น
4. การเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งาน  สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติบางชนิดจะไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้มาก เช่น น้ำที่ไหลลงมาตามลำน้ำ ถ้าหากสร้างเขื่อนขวางกั้นลำน้ำเพื่อยกระดับของน้ำให้เขื่อนสูงขึ้น แล้วนำพลังงานน้ำนั้นมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานอีกวิธีหนึ่ง
5. การนำสิ่งอื่นมาใช้ทดแทน  การนำสิ่งอื่นมาใช้ทดแทนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบางชนิดอาจทำได้ เช่น การนำก๊าซธรรมชาติ มาใช้ทดแทนน้ำมันเชื้อเพลิงในรถยนต์ การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ทดแทนพลังงานไฟฟ้า ซึ่งทำให้ประหยัดค่าน้ำมันเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า เป็นต้น
การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ทดแทนพลังงานไฟฟ้า
ที่มา: http://www.manager.co.th/iBizChannel
6. การสำรวจแหล่งทรัพยากรเพิ่มเติม  เป็นการค้นหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจและสังคม เช่น การใช้เครื่องตรวจสอบรังสีในการสำรวจแร่ยูเรเนียม การใช้ระบบคลื่นแผ่นดินไหวเทียมเพื่อสำรวจหาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น
7. การประดิษฐ์ของเทียมขึ้นใช้ ความเจริญก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มนุษย์สามารถผลิตของเทียมขึ้นใช้แทนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ยางเทียม ไหมเทียม เป็นต้น ความสามารถดังกล่าวจึงช่วยลดปริมาณการใช้ทรัพยากรธรรมชาติบางชนิดให้น้อย

แนวทางอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
                                                     ที่มา:http://wiki.stjohn.ac.th/

การอนุรักษ์สื่งแวดล้อมจะได้ผลยั่งยืนข้อมูลนั้น ตลอดจนต้องใช้มาตรการทางกฏหมายควบคุมแนวทางในการอนุรักษ์อย่างยั่งยืนมี 3 แนวทางดังนี้
1.การให้การศึกษาคือการสอนให้เข้าใจถึงหลักการ วิธีการอนุรักษ์ มีจริยธรรมเกิดสำนักและร่วมในการอนุรักษ์
2.การใชเทคโนโลยีในการนำทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาใช้ให้เกิดประโยชน์
3.การใช้กฎหมายควบคุมเป็นวิธีการสุดท้ายในการดำเนินการ
การอนุรักษ์บรรยากาศ มหาสมุทรและระบบนิเวศบก

ที่มา: http://wiki.stjohn.ac.th/
                 การใช้ทรัพยากรเพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรป่าไม้ การเกษตร การประมง แร่ธาตุ หิน ฯลฯ จะมีของเสียเกิดขึ้น ของเสียอาจจะอยู่ในรูปของของแข็ง (ขยะมูลฝอย กากสารพิษอันตราย) ของเหลว (น้ำเสีย น้ำมันและไขมัน) ก๊าซ (ฝุ่นละออง ก๊าซพิษ หมอกควัน ละอองสารพิษ) มลพิษทางฟิสิกส์ (เสียง แสง ความร้อน ความสั่นสะเทือน) ของเสียและมลพิษเหล่านี้ย่อมหมุนเวียนอยู่ทั้งบนบก มหาสมุทร และบรรยากาศ เฉกเช่นเดียวกับวัฏจักรของน้ำ ของเสียและมลพิษ สิ่งแวดล้อมที่เป็นฝุ่นละออง แก๊สพิษ หมอกควัน ละอองสารพิษ และ CFCs จะลอยปนเปื้อนในบรรยากาศ ส่วนมากแล้วจะเป็นก๊าซเรือนกระจก (greenhouse gases) ของเสียที่เป็นขยะมูลฝอย กากสารพิษ และน้ำเสีย จะไหลลงสู่ลำน้ำ สุดท้ายลงสู่ทะเลและมหาสมุทร อาจจะทำให้สิ่งมีชีวิตในน้ำบางชนิดสูญพันธุ์ไปจากแหล่งน้ำได้
               
ที่มา: http://wiki.stjohn.ac.th/groups/poly_ordinarycourse/wiki/25c55/9_.html