วันพฤหัสบดีที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2557

แผ่นดินไหว


 แผ่นดินไหว


   ผลกระทบจากเหตุการณ์ภัยพิบัติ ไม่ให้ความสำคัญและใส่ใจมากนัก แต่ในช่วงระยะเวลา
เพียง 10 กว่าปีที่ผ่านมาเท่านั้น ตามมาเช่นสึนามิหรือเพลิงไหม้เป็นต้น

              ความเสียหายจากแผ่นดินไหว            
          แผ่นดินไหวเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ส่งแรงสั่นสะเทือนและมีผลกระทบไปในบริเวณกว้างและไกล ไม่เฉพาะบริเวณที่เป็นศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหว และหากเป็นแผ่นดินไหวขนาดใหญ่สามารถส่งแรงสั่นสะเทือนไปได้หลายพันกิโลเมตร ดังนั้นหลายประเทศจึงได้มีการตรวจวัดแผ่นดินไหวในระบบเครือข่ายทั้งในระดับประเทศและเครือข่ายระดับโลก เพื่อวิเคราะห์ตำแหน่ง ขนาดและเวลาเกิดแผ่นดินไหว โดยประเทศไทยเริ่มมีการตรวจแผ่นดินไหวเมื่อปี 2526 และสถานีตรวจแผ่นดินไหวแห่งแรกของกรมอุตุนิยมวิทยา ณ จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมกับเข้าร่วมเป็นเครือข่ายระบบมาตรฐานโลก (Worldwide Standardized Seismograph Network: WWSSN) ซึ่งขนาดและความรุนแรงของการเกิดแผ่นดินไหวจะมีหน่วยเป็น “มาตราริคเตอร์” และ “มาตราเมอร์แคลลี่”’
      สาเหตุการเกิดแผ่นดินไหว
 1. กระบวนการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ เช่น การเคลื่อนที่ของเปลือกโลก
 2. ภูเขาไฟระเบิด (ในขณะที่แมกมาใต้ผิวโลกเคลื่อนที่ตามเส้นทางสู่ปล่องภูเขาไฟ สามารถทำให้เกิดแผ่นดินไหวก่อนมีการระเบิดของภูเขาไฟ)
 3. การกระทำของมนุษย์ เช่น การทดลองระเบิดปรมาณู การระเบิดพื่นที่เพื่อสำรวจวางแผนก่อนสร้างเขื่อน เป็นต้น   


การเกิดแผ่นดินไหวที่ประเทศญี่ปุ่น 9.0 ริกเตอร์
ที่มา: http://203.172.208.67/damrong2010/thai/kruarcharaporn2/L3_9.html
       
          สำหรับประเทศไทยของเราเองแผ่นดินไหวที่อำเภอพาน พ.ศ. 2557 เกิดขึ้นเมื่อเวลา 18.08.43 น. ตามเวลาท้องถิ่นของประเทศไทย (UTC+7) ในวันที่ 5 พฤษภาคม 2557 สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานว่า จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวอยู่ในตำบลทรายขาว อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ต่อมา กรมทรัพยากรธรณี ระบุว่าการใช้เครื่องมือตรวจวัดได้ข้อสรุปใหม่ว่าศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหวอยู่ที่ตำบลดงมะดะ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย เนื่องจากพบแนวรอยแยกปรากฏอยู่จำนวนมาก ส่วน USGS รายงานว่าจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวอยู่ห่างจากอำเภอแม่ลาวไปทางใต้ 9 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากตัวเมืองจังหวัดเชียงรายไปทางตะวันตกเฉียงใต้ 27 กิโลเมตร มีผู้เสียชีวิต 2 คน

สภาพความเสียหายบนถนน
                   แผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดขึ้นจากการปลดปล่อยพลังงานของรอยเลื่อนพะเยาจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ลึกลงไปใต้ดิน 6 กิโลเมตร ซึ่งถือว่าตื้น ทำให้มีความรุนแรงและความเสียหายเป็นอย่างมาก โดยแรงสั่นสะเทือนทำให้เกิดความเสียหายแก่สิ่งปลูกสร้างในระยะ 30 กิโลเมตรจากจุดศูนย์กลาง และมีแผ่นดินไหวตามมากอีกมากกว่า 100 ครั้งทั้งนี้ยังมีการให้เฝ้าระวังแผ่นดินไหวตามที่อาจเกิดขึ้นจากรอยเลื่อนพะเยาในจังหวัดเชียงราย จังหวัดพะเยาและจังหวัดลำปาง

     ที่มา: http://sscc.isit.or.th/ ,  http://region3.prd.go.th/natural-disaster/journal5.php


      

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น